ช่วงต้นของชีวิต ของ อิบน์ ตัยมียะฮ์

ตระกูล

บิดาของอิบน์ ตัยมียะฮ์ มีที่นั่งของฮัมบะลี ในฮัรรอน และต่อมาที่มัสยิดอุมัยยะฮ์ ฮัรรอน เป็นเมืองส่วนหนึ่งของรัฐสุลต่านรูม ปัจจุบัน ฮัรรอน เป็นเมืองเล็กๆ ที่ชายแดนซีเรีย และตุรกี ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดชันลืออูร์ฟา [22] ปู่ของเขาคือ มัจญ์ดุดดีน อิบน์ ตัยมียะฮ์ อัลฮัมบะลี (เสียชีวิต 1255) และ ฟัครุดดีน ลุงของเขา (เสียชีวิต 1225) เป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงของมัซฮับฮัมบะลี ในทำนองเดียวกัน ความสำเร็จด้านวิชาการของบิดาของเขาคือ ชิฮาบุดดีน อับดุลฮะลีม อิบน์ ตัยมียะฮ์ (เสียชีวิต 1284) ก็เป็นที่รู้จักกันดีเช่นกัน

การศึกษา

ในปี 1269 อิบน์ ตัยมียะฮ์ อายุเจ็ดขวบได้ออกจากฮัรรอน พร้อมกับพ่อและพี่น้องสามคนของเขา เมืองนี้ถูกทำลายอย่างสิ้นเชิงจากการรุกรานของมองโกลที่ตามมา[23] [24] ครอบครัวของอิบน์ ตัยมียะฮ์ ย้ายและตั้งรกรากในเมืองดามัสกัส, ประเทศซีเรีย, ซึ่งขณะนั้นปกครองโดย สุลต่านแห่งมัมลูก

ในดามัสกัส บิดาของเขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของซุกกะรียะฮ์ อัลมะดะเราะซะฮ์ ซึ่งเป็นสถานที่ซึ่ง อิบน์ ตัยมียะฮ์ ได้รับการศึกษาขั้นต้นเช่นกัน การศึกษาทางศาสนาของเขาเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วัยรุ่นตอนต้น เมื่อเขาท่องอัลกุรอานทั้งเล่มด้วยความทรงจำ และต่อมาเขาได้เรียนรู้หลักคำสอนของอิสลามเกี่ยวกับคัมภีร์อัลกุรอาน[23] จากบิดาของเขา เขาได้เรียนรู้ศาสตร์ทางศาสนาของฟิกฮ์ (นิติศาสตร์) และ อุศูลุลฟิกฮ์ (หลักนิติศาสตร์)[23] อิบน์ ตัยมียะฮ์ ได้เรียนรู้งานของอะฮ์หมัด อิบน์ ฮัมบัล, อะบูบักร์ อัลเคาะลาล, อิบน์ กุดามะฮ์ และงานของอะบูลบัรกาต มัจญ์ดุดดีน ปู่ของเขาด้วย[24] การศึกษาวิชานิติศาสตร์ของเขาไม่ได้จำกัดอยู่เพียงมัซฮับของฮันบะลีเท่านั้น แต่เขายังได้เรียนรู้วิชานิติศาสตร์อื่นๆ ด้วย [24]

จำนวนนักวิชาการที่เขาศึกษาหะดีษ กล่าวกันว่ามีจำนวนมากกว่าสองร้อยคน[25] [23] สี่คนเป็นผู้หญิง บรรดาผู้ที่เป็นที่รู้จักตามชื่อมีจำนวนครูหะดีษสี่สิบคน ตามที่อิบน์ ตัยมียะฮ์บันทึกไว้ในหนังสือของเขาชื่อ อัรบะอูนหะดีษัน[23] Serajul Haque กล่าวว่า จากสิ่งนี้ทำให้อิบน์ ตัยมียะฮ์ เริ่มฟังหะดีษตั้งแต่อายุห้าขวบกับครู[23] หนึ่งของเขาเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาฮัมบะลี คนแรกของซีเรียคือ ชัมสุดดีน อัลมักดิซีย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งที่สร้างขึ้นใหม่โดย บัยบัร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบตุลาการ[24] อัลมักดิซีย์ ได้เข้ามาอนุญาตอิบน์ ตัยมียะฮ์ในการออกฟัตวา (คำตัดสินทางกฎหมาย) เมื่อเขากลายเป็นมุฟตีย์เมื่ออายุได้ 17 ปี[25]

การศึกษาทางโลกของอิบน์ ตัยมียะฮ์ ทำให้เขาหันมาสนใจภาษาอาหรับและวรรณคดีอาหรับ โดยศึกษาไวยากรณ์และศัพท์ภาษาอาหรับภายใต้การสอนของอะลี อิบน์ อับดุลเกาะวี อัฏฏูฟีย์[23] เขายังคงเชี่ยวชาญหนังสือไวยากรณ์ภาษาอาหรับที่มีชื่อเสียง อัลกิตาบ โดย ซีบะวัยฮ์ นักไวยากรณ์ชาวเปอร์เซีย[23] นอกจากนี้เขายังศึกษาคณิตศาสตร์, พีชคณิต, คัดลายมือ, เทววิทยา (กะลาม) ปรัชญา ประวัติศาสตร์และลัทธินอกรีต[25] [26] [24] จากความรู้ที่เขาได้รับจากประวัติศาสตร์และปรัชญา เขาเคยหักล้างวาทกรรมทางปรัชญาที่แพร่หลายในยุคสมัยของเขา หนึ่งในนั้นคือ ปรัชญาของอริสโตเติ้ล[25] อิบน์ ตัยมียะฮ์ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับศูฟีย์ และกล่าวว่าเขาได้ไตร่ตรองถึงผลงานของ; สะฮ์ล อัตตุสตะรีย์, ญุนัยด์แห่งแบกแดด, อะบูฏอลิบ อัลมักกีย์, อับดุลกอดิร อัลญิลานีย์, อะบูฮัฟศ์ อุมัร อัสสุฮ์เราะวัรดีย์ และ อิบน์ อะเราะบี[24] เมื่ออายุได้ 20 ปี ในปี ค.ศ. 1282 อิบน์ ตัยมียะฮ์ สำเร็จการศึกษา[23]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อิบน์ ตัยมียะฮ์ http://ukcatalogue.oup.com/product/9780195478341.d... http://www.oxfordreference.com/view/10.1093/acref/... //doi.org/10.1080%2F01436597.2015.1024433 //www.jstor.org/stable/23643961 https://www.britannica.com/EBchecked/topic/280847/... https://books.google.com/books?id=ztCRZOhJ10wC&q=H... https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/01436... https://web.archive.org/web/20150213044648/https:/... https://web.archive.org/web/20151011185024/http://... https://web.archive.org/web/20161220132424/http://...